การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าและแผนควบคุมสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ (Advanced Product Quality Planning (APQP) & Control plan for IATF 16949:2016)

Last updated: 10 มิ.ย. 2567  |  187 จำนวนผู้เข้าชม  | 

alt

หลักการและเหตุผล :

ในการบริหารการผลิต  เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ ที่องค์กรดำเนินการผลิต และส่งมอบให้แก่ลูกค้า โดยให้ความสำคัญในด้านคุณภาพ, ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และการส่งมอบตรงเวลา  จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ แต่ละรุ่นของผลิตภัณฑ์ (New products/New Project) 8.2.3.1.3 อย่างเป็นระบบ

หลักสูตรนี้รวมถึงเทคนิคการจัดทำแผนควบคุม (Control Plan) ทั้งช่วงทดลองผลิต (Trial Run) และผลิตจริง (Mass production)ตามข้อกำหนด 8.5.1.1 โดยเน้นให้ทีมงานได้ทดลองเขียนกับกระบวนการผลิตจริงขององค์กร

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :

1.       เพื่อลดการตีความสับสนและการตีความที่ผิดพลาดสำหรับข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดของผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ ในการวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า เพื่อลดเวลาในห่วงโซ่อุปทาน

2.       เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่อง” การวางแผนคุณภาพผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า Advance Product Quality Planning : APQP ” อันมีความสำคัญอย่างยิ่งเป็นหัวใจสำคัญใน Core tools ของระบบ

3.       เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนและแนวทางการประยุกต์ใช้ APQP

4.       เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้และความเข้าใจในหลักการและเทคนิคของ Control Plan แต่ละชนิด

5.       เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบูรณาการกับกิจกรรม APQP, PPAP, FMEA, MSA, และSPCได้อย่างถูกต้อง

6.       เพื่อให้ Cross functional team มีความเข้าใจในการวางแผนผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product) ตามข้อกำหนด 8.3 ของ IATF 16949:2016 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนผลิตจริง (Mass Production) และสอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า (Customer specific requirement: CSRs) และการจัดสรรทรัพยากรและต้นทุนให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

 

หัวข้ออบรมสัมมนา :

1.วัตถุประสงค์และการประยุกต์ใช้ APQP สำหรับมาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์

2.APQP กับข้อกำหนด IATF 16949:2016

3.การจัดตั้งทีมงานข้ามแผนก (Cross Function) และรูปแบบแผนงาน APQP

4.การประเมินความเป็นไปได้สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Manufacturing feasibility)

Workshop: ประเมินความเป็นไปได้ในการผลิต (Feasibility) กับ new product จริง (กรณีได้รับอนุญาต)

Chapter 1: APQP 2nd edition (AIAG Manual)

                   Phase 1: การวางแผนและกำหนดขั้นตอนดำเนินการ (Plan and Define Program)

                   Workshop: จัดทำ APQP master plan และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

                   Phase 2: การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Design & Development Product)

 Workshop: จัดทำ Production tooling plan

Phase 3 : การออกแบบและพัฒนากระบวนการ (Design & Development Process)

 Workshop: จัดทำ Process flow diagram, Packing & labelling,

 Inspection standard, FMEA, Standardize work.

 Phase 4: การยืนยันผลิตภัณฑ์และกระบวนการ/การทดลองผลิต

          Workshop: จัดทำ Trial report และสรุปเอกสารที่ต้องส่งลูกค้า (PPAP file)

 Phase 5: ข้อมูลป้อนกลับและการแก้ไข (Feedback Assessment and Corrective Action)

Chapter 2: Control Plan Methodology

5.แผนควบคุมคืออะไร

6.ประเภทของแผนควบคุมตามข้อกำหนด IATF 16949:2016

7.ข้อมูลนำเข้า (Input) ในการจัดทำแผนควบคุม

8. อธิบายแบบฟอร์ม Control Plan ตาม Annex A ของ IATF 16949:2016

9. อะไรคือ Product & Process Characteristic (SC)

 10.ขั้นตอนการจัดทำแผนควบคุม

Workshop: จัดทำแผนควบคุมโดยอ้างอิงขั้นตอนการผลิตตาม Process Flow Chart

11.การนำแผนควบคุมไปใช้งาน

12.ความสัมพันธ์ระหว่าง Process Flow, FMEA, Control Plan และ WI.

13.ถาม-ตอบ และทำแบบทดสอบ (Post Test)

 

 

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม :

Cross Function Team (New Project Team), Internal Auditor, QMR และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ใหม่

รูปแบบการอบรมสัมมนา :

อธิบาย และเน้นกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำไปปรับใช้กับงานจริงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้