เทคนิคการการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน และการบันทึกข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน(copy)

คุณสมบัติสินค้า:

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 มีตัวอย่าง : คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดี กรรมการสหภาพฯและกรรมการลูกจ้าง ข้อที่ 27 ถึงข้อที่ 40 มอบให้ “ ฟรี”

Share

สมัคร 5 ท่าน จ่ายแค่ 4 ท่านเท่านั้น !!!

 >> มีตัวอย่าง : คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดี กรรมการสหภาพฯและกรรมการลูกจ้าง ข้อที่ 27 ถึงข้อที่ 40 มอบให้ “ ฟรี”

 

วัตถุประสงค์ 

1.        เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้แทนในการเจรจาข้อเรียกร้องทราบถึงสิทธิ ของนายจ้าง สิทธิของลูกจ้าง ในกรณี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ. ศ. 2518 ต้องดำเนินการอย่างไร..

2.       เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับปฏิบัติได้จริงต่อการนำเสนอ นโยบาย การเรียนรู้เทคนิคในการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้อง กรณีสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง หรือนายจ้างยื่นข้อเรียกร้องสวน เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ใช้หลักการเจรจาอย่างไร..ให้ตกลงกันได้ภายในองค์กร และทราบถึงการ จัดทำบันทึกข้อตกลงข้อเรียกร้องที่นายจ้างและสหภาพฯจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งต่อหน่วยงานภาครัฐ ต้องกำหนดข้อความให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับสิทธิอย่างไร...         

3.        เพื่อให้นายจ้างผู้บริหารทราบถึง ในระหว่างข้อตกลงมีผลบังคับใช้ ในกรณีนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้นายจ้างไม่สามารถ จ่ายสวัสดิการ หรือปฏิบัติตามข้อตกลงได้ แนวทางการแก้ปัญหาที่ดี ต้องปฏิบัติ และดำเนินการอย่างไร...


หัวข้อในการอบรม

*** หมวด : 1 การเขียนข้อเรียกร้อง,การเจรจาต่อรองและบันทึกข้อตกลง ***

 1. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สิทธินายจ้างกรณีจัดตั้ง เป็นองค์กร และมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีกรณีอะไรบ้าง..?
ยกตัวอย่าง : การจัดตั้ง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง  พร้อมคำอธิบาย 

2. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ให้สิทธิลูกจ้าง กรณีจัดตั้ง เป็นองค์กร และมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีกรณีใดบ้าง..?


ยกตัวอย่าง : การจัดตั้งสหภาพแรงงาน จัดตั้งสหพันธ์แรงงาน และจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างแรงงาน  พร้อมคำอธิบาย   

3. สหภาพแรงงาน ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง จะกระทำได้เมื่อใด.. และมีขอบเขตในการกำหนดข้อเรียกร้อง ตามกฎหมายหรือไม่... เพราะอะไร..?

ยกตัวอย่าง : การยื่นข้อเรียกร้อง การกำหนดข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน  พร้อมคำอธิบาย

4. กรณีนายจ้างมีนโยบายยื่นข้อเรียกร้องสวนต่อสหภาพแรงงาน เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมที่มีอยู่ หรือเพื่อขอเปลี่ยนแปลงข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงานยื่นเข้ามาใหม่จะกระทำได้เมื่อใด..และมีขอบเขตในการกำหนดข้อเรียกร้องตามกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..?       

มีตัวอย่าง : การกำหนดข้อเรียกร้องเพื่อยื่นสวนต่อสหภาพแรงงาน แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา  พร้อมคำอธิบาย

 5. การกำหนดตัวแทน ในการเจรจาข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้าง พิจารณาจากคุณสมบัติอะไรบ้าง..?

ยกตัวอย่าง : การพิจารณาจากตำแหน่งงาน ความพร้อมด้านต่างๆ  พร้อมคำอธิบาย 

6. การกำหนดที่ปรึกษา ในการเจรจาข้อเรียกร้องของฝ่ายนายจ้าง มีขอบเขตในการกำหนด และต้องมีคุณสมบัติตามกฎหมายอะไรบ้าง..?   

ยกตัวอย่าง : การพิจารณาเพื่อกำหนดคุณสมบัติ ตามกฎหมาย พร้อมคำอธิบาย

7. เมื่อมีนายจ้างหรือสหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อกัน และได้มีการเจรจากันครั้งหนึ่งแล้ว การเลื่อนเจรจากันในครั้งต่อไป จะเลื่อนได้กี่ครั้ง แต่ละครั้งต้องห่างกัน กี่วัน มีบทบัญญัติไว้ตามลงกฎหมายหรือไม่..เพราะอะไร..? 

ยกตัวอย่าง :  การรับข้อเรียกร้อง การเจรจากันครั้งแรก การกำหนดวันในครั้งต่อไป  พร้อมคำอธิบาย 

8. เทคนิคในการเจรจาข้อเรียกร้องของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและการนำเสนอ นโยบายเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องวางกลยุทธ์อย่างไร...ถึงจะทำให้การเจรจาข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานตกลงกันได้ในองค์กรด้วยดี

ยกตัวอย่าง :  การนำเสนอเหตุผลข้อเรียกร้องในแต่ละข้อที่จะขอให้มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมคำอธิบาย  

9.  เทคนิคในการเจรจา กรณีกำหนดให้จ่ายเงินโบนัสประจำปี ต้องเสนอเงื่อนไขให้ผู้มีสิทธิจะได้รับอย่างไร..?

ยกตัวอย่าง :  การนำเสนอ ให้ได้รับสิทธิ มากกว่ากำหนด และให้ได้รับน้อยกว่ากำหนด  พร้อมคำอธิบาย  

10. การนำเสนอข้อเรียกร้องที่ตกลงกันให้มีผลบังคับใช้ และมีระยะเวลา 3 ปี จะเกิดผลดีต่อองค์กร อะไรบ้าง..? 

ยกตัวอย่าง :  การให้เหตุผล ข้อตกลงที่กำหนดเป็น 1 ปี แตกต่างจาก 3 ปี พร้อมคำอธิบาย

11.  การจัดทำบันทึกข้อตกลงข้อเรียกร้องของนายจ้างกับสหภาพแรงงาน เพื่อนำไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เป็นสภาพการจ้าง ต้องกำหนดข้อความให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับสิทธิอย่างไร..? 

มีตัวอย่าง : การจัดทำบันทึกข้อตกลง และการกำหนดสิทธิหรือเงื่อนไขการได้รับสิทธิ  แจกให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา  พร้อมคำอธิบาย

12 . เมื่อเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานและตกลงกันได้แล้ว ในระหว่างที่จัดทำเอกสาร ก่อนที่จะนำไปจดทะเบียนต่อหน่วยงานภาครัฐ ในกรณี มีสมาชิกของสหภาพแรงงานไม่เห็นด้วยในข้อตกลงและคัดค้านรวมตัวกันชุมนุมก่อม็อบ ทำได้หรือไม่.เพราะอะไร..?

ยกตัวอย่าง :  การแก้ปัญหาของผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และการทำหน้าที่ของผู้แทนสหภาพแรงงาน  พร้อมคำอธิบาย                                                                             

13. ในกรณีนายจ้างเจรจาข้อเรียกร้องกับสหภาพแรงงานแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ กระบวนการแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงานต่อหน่วยงานภาครัฐ ต้องดำเนินการอย่างไร..?

ยกตัวอย่าง :  การจัดทำเอกสาร และขั้นตอนในการแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงาน  พร้อมคำอธิบาย  

14 . เมื่อมีการเจรจาข้อเรียกร้องระหว่างผู้แทนฝ่ายนายจ้างกับสหภาพแรงงานแล้ว กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ นายจ้างมีสิทธิที่จะปิดงานหรือสหภาพแรงงานมีสิทธิที่จะชุมนุมนัดหยุดงาน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างไร..? 

ยกตัวอย่าง :  การปฏิบัติตาม ขั้นตอนของสิทธิตามกฎหมาย  พร้อมคำอธิบาย                                                                                                             

15. กรณีองค์กรมีสหภาพแรงงาน 2 สภาพแรงงาน เช่น สหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชา และสหภาพแรงงานระดับปฏิบัติการ นายจ้างต้องปฏิบัติต่อ สหภาพแรงงานทั้ง 2 แห่งอย่างไร..?  

ยกตัวอย่าง :  การยื่นข้อเรียกร้อง การเจรจา การบันทึกข้อตกลง การบังคับใช้ข้อตกลง  พร้อมคำอธิบาย                                                              

 16.  ในระหว่าง ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ นายจ้างต้องปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องและสมาชิกของสหภาพแรงงานอย่างไร..?                                                                 

ยกตัวอย่าง : การจ่ายสวัสดิการ และการลงโทษทางวินัย หรือการเลื่อน ลด ปลด ย้าย สมาชิกของสหภาพแรงงาน  พร้อมคำอธิบาย                                                             

17. ในระหว่าง ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ กรณีนายจ้างเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และไม่มีเหตุอันสมควร การเรียกร้องสิทธิของผู้มีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการตามที่ตกลงกันไว้จะร้องทุกข์ ได้ที่ไหนบ้าง..?   

ยกตัวอย่าง :  การเรียกร้องสิทธิ ทางกฎหมายต่อหน่วยงานภาครัฐ  พร้อมคำอธิบาย                                                                                                                                     

18. ในระหว่างข้อตกลงมีผลบังคับใช้ กรณีบริษัทฯประสบปัญหาทางเศรษฐกิจสาเหตุจากโรคระบาด หรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติจนเป็นเหตุให้ได้รับความเสียหายร้ายแรง นายจ้างไม่สามารถจ่ายสวัสดิการให้กับลูกจ้างตามที่ได้ตกลงกันไว้ นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไร..?         

 ยกตัวอย่าง : การแก้ปัญหาที่ดี เพื่อระงับ หรือ งด การจ่ายสวัสดิการและการบังคับใช้  พร้อมคำอธิบาย 

19. กรณีบริษัทฯ มีโรงงานหลายแห่งซึ่งอยู่ตามสาขา ตั้งอยู่ห่างไกลกัน และเป็นชื่อบริษัทฯเดียวกัน ลูกจ้างมีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานของแต่ละที่ที่อยู่ตามสาขาได้หรือไม่..กฎหมายให้สิทธิลูกจ้างหรือไม่.. เพราะอะไร..?    

ยกตัวอย่าง : องค์ประกอบในการจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงาน  พร้อมคำอธิบาย  

20. การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ในกรณี บริษัทฯ มีโรงงานหลายแห่ง การนับจำนวนพนักงาน เพื่อแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง ให้ได้ตาม ส่วน ตามกฎหมายต้องนับจำนวน พนักงานอย่างไร.. ถึงจะแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย

ยกตัวอย่าง : บริษัทฯมีโรงงานอยู่ 3 แห่ง ซึ่งเป็นชื่อบริษัทฯเดียวกัน  พร้อมคำอธิบาย  

21. ทำไม..กรรมการบริหารสหภาพแรงงานต้องพยายามรับตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง (คนเดียว ทำหน้าที่ 2 ตำแหน่ง เพราะอะไร                                                                                                                                                                                                 

ยกตัวอย่าง :  การได้รับสิทธิ คุ้มครองทางกฎหมายแรงงานสัมพันธ์  พร้อมคำอธิบาย                                                                                                                                             

22. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้อง นายจ้างต้องการสร้างความกดดันให้สหภาพแรงงาน ต้องดำเนินการอย่างไร..?                                     

ยกตัวอย่าง : นายจ้าง ยื่นข้อเรียกร้องสวน และการกำหนดข้อเรียกร้องของนายจ้าง                                                                                               

23. ในกรณีที่ประธานสหภาพฯ หรือกรรมการลูกจ้าง มีพฤติกรรมดื้อ - ก่อกวน - ชอบสร้างปัญหา - เป็นนักบุกระดม เพื่อให้เกิดปัญหาในองค์กรบ่อยๆ  ผู้บริหารหรือ HR. จะทำให้หยุดพฤติกรรมได้อย่างไร..?                                                                                                   

ยกตัวอย่าง : การใช้เทคนิคและ วิธีที่จะทำให้ปัญหาหมดไป   

24. ในระหว่างเจรจาข้อเรียกร้อง พนักงานไม่ทำงานล่วงเวลา (ไม่ทำ OT. ) ในวันทำงานปกติหรือในวันหยุด เพราะมีผู้นำแรงงานแนะนำ  ผู้บริหาร - HR.จะกล่าวโทษต้องดำเนินการอย่างไร..?

ยกตัวอย่าง :  การตรวจสอบข้อมูล - การกำหนดความเสียหายที่เกิดขึ้น – การพิจารณาลงโทษทางวินัย                                                                

25.กรณีสหภาพแรงงานชุมนุมกันหน้าโรงงานและ ปิดถนน ไม่ให้ รถเข้า - ออก นายจ้างส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้จะเอาผิดสหภาพต้องดำเนินการอย่างไร..?     

ยกตัวอย่าง : การตรวจสอบความเสียหาย - การพิจารณาเพื่อกำหนดลงโทษ หรือพิจารณาเลิกจ้าง

26. ผู้นำแรงงานชักนำองค์กรสหภาพฯ ไปในทางที่ผิด จะเกิดผลกระทบต่อนายจ้างหรือต่อลูกจ้างอย่างไร..?   

ยกตัวอย่าง :  การเกิดผลกระทบต่อนายจ้าง - ผลกระทบต่อลูกจ้าง  

  *** หมวด : 2 คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดี กรรมการสหภาพฯ กรรมการลูกจ้าง *** 

27. ประธานสหภาพแรงงานซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง ลางาน 3 วันเพื่อไปแก้ปัญหาข้อพิพาทแรงงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้างของบริษัท มีจุดอ่อนตรงไหน....? ทำไม....? นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้    พร้อมคำอธิบาย              

28. ประธานฯ- กรรมการสหภาพฯมีสิทธิลางาน เพื่อทำกิจกรรมของสหภาพแรงงาน ตาม พรบ. 18 ม.120 มีกรณีใดบ้าง และ บางกิจกรรมลูกจ้างชอบลาโดยไม่มีสิทธิลา  มีกรณีใดบ้าง..?

มีคำพิพากษาฎีกา   ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย    

29. ศาลจะอนุญาตให้ นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตาม  มาตรา 52ได้ พิจารณาจากอะไร..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย    

30. สมาชิกของสหภาพแรงงานฯ เมื่อเกิดปัญหาทำไม..? มีสิทธิ มอบอำนาจให้สหภาพแรงงานดำเนินการแทนได้..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย

31 . ข้อตกลงอันเกิดจาก การยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน ที่นายจ้างให้ กรณีนายจ้าง หรือลูกจ้างร้องขอ ให้มีการเปลี่ยนแปลง ต้องทำอย่างไร..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย

32. นายจ้างมีคำสั่งย้ายกรรมการสหภาพฯ ต่อมาได้มีความยื่นข้อเรียกร้อง ของสหภาพฯเพื่อขอเปลี่ยนแปลง สภาพการจ้าง ลูกจ้างไม่ไปตามคำสั่งย้ายนายจ้างออกใบเตือน ระหว่างยื่นข้อเรียกร้องทำได้หรือไม่เพราะอะไร..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย                                                                                                                                   

33. พนักงาน 190 คน พละงาน ประท้วงโดยไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือ -ไม่มีการลงชื่อ -ไม่มีการลงลายมือชื่อของลูกจ้าง ที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ตาม พรบ.18 มาตรา.13 ลูกจ้างจะมีความผิดอะไรบ้างฯ

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย

34. ลูกจ้างที่เป็นหัวหน้างาน เป็นสมาชิกของ สหภาพแรงงานไม่ได้เพราะอะไร..? มีองค์ประกอบทางกฎหมายอย่างไร..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้  พร้อมคำอธิบาย

35 .กรรมการผู้มีอำนาจ และ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ทำไม..?  เป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้...? เพราะอะไร..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้    พร้อมคำอธิบาย

36.นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง ต้องแจ้งคณะกรรมการสหภาพฯ หรือไม่ ..?  เพราะอะไร..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

37. นายจ้างย้ายกรรมการลูกจ้าง ต้องขออำนาจศาลหรือไม่..? เพราะอะไร

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

38. นายจ้างขออำนาจศาลเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตาม  มาตรา 52 เมื่อศาลอนุญาตแล้ว นายจ้างออกหนังสือเลิกจ้างได้เลยหรือไม่ เพราะคดียังไม่สิ้นสุด เพราะอะไร

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบา1ย                                                                                                                                   

39. มีมติของลูกจ้างในบริษัทฯ เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ปลดกรรมการลูกจ้าง ออกจากตำแหน่ง นายจ้างมีโรงงาน และ สาขา มีพนักงานอยู่สองแห่ง ต้องนับจำนวนของพนักงานอย่างไร..? ถึงจะทำได้ตามกฎหมาย

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

40 .สิทธิในการ นัดชุมนุม - นัดหยุดงาน ของลูกจ้าง ในการยื่นข้อเรียกร้องจะเกิดขึ้นเมื่อใด ..?

มีคำพิพากษาฎีกา  ตัดสินคดีนี้ พร้อมคำอธิบาย

·     มีตัวอย่าง : เอกสารการเขียนข้อเรียกร้องของบริษัทฯ, หนังสือแจ้งข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงาน, บันทึกการประชุมการเจรจาข้อเรียกร้อง, บันทึกข้อตกลงระหว่างบริษัทฯกับสหภาพแรงงาน,  คำขอจดทะเบียนบันทึกข้อตกลงระหว่างบริษัทฯกับสหภาพแรงงานหนังสือแจ้งปิดการเจรจาข้อเรียกร้อง, หนังสือแจ้งประนอมข้อพิพาทแรงงานต่อหน่วยงานภาครัฐ มอบให้    “ ฟรี ”

·     มีตัวอย่าง : คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินคดี กรรมการสหภาพฯ และกรรมการลูกจ้าง ข้อที่. 27 ถึงข้อที่. 40 มอบให้ “ ฟรี ”

·     ผู้เข้าร่วมสัมมนา : นายจ้าง  ผู้บริหาร  ผู้แทนในการเจรจาข้อเรียกร้อง

·     ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดกาลไม่มีค่าใช้จ่าย   

วิทยากร         อาจารย์สมบัติ  น้อยหว้า
ประสบการณ์ด้านแรงงานที่ต่างประเทศ

...... ประเทศมาเลเซีย  พ.ศ. 2546                     

...... ประเทศญี่ปุ่น  พ.ศ. 2554                                                                            

...... นครเจนนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์      เป็นเวลา 19 วัน พ.ศ. 2551

ประวัติการทำงาน / ประสบการณ์

•         เป็นผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลางกรุงเทพฯ 9 ปี

•         เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดีแรงงานในศาลแรงงานกลางกรุงเทพฯ

•         เป็นกรรมการ (บอร์ด) ค่าจ้างขั้นต่ำ ที่กระทรวงแรงงาน

•         เป็นที่ปรึกษาด้านแรงงาน จดทะเบียน ที่กระทรวงแรงงาน

•         เป็นอนุกรรมการประกันสังคม ณ สำนักงานใหญ่  จ. นนทบุรี

•         เป็นที่ปรึกษาด้านแรงงาน บริษัทฯเอกชนในเขตุกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร 40 ประเด็น เด็ดๆ..ที่ผู้บริหารงานHR.มือใหม่ต้องรู้

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร Update กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ที่ใช้ปี2565

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การบริหารงาน-บริหารคนของนายจ้างในบริษัทเอกชน

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร สวัสดิการ-ลงโทษ-เลิกจ้างที่ผู้บริหารและHR.ห้ามพลาด

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร เทคนิคการเจรจาต่อรองข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การเขียนสัญญาจ้าง-เขียนระเบียบปฏิบัติ-ประกาศ-คำสั่ง

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การปฏิบัติตนที่ดีขณะเป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารและหัวหน้างานยุคใหม่ที่ดี

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร เจาะลึก...การสรรหาว่าจ้างพนักงานใหม่เข้าทำงานในองค์กร

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร เลิกจ้างอย่างไร.ไม่ให้เกิดปัญหาลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การบริหารและขอบเขตการใช้อำนาจตามหน้าที่ของหัวหน้างาน

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การดำรงตนของผู้บริหารและหัวหน้างานที่ดีต้องปฏิบัติอย่างไร..

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การนำเข้าและจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายภายใต้ MOU.

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การจัดทำข้อบังคับในการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน 

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร เจาะลึก...การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการเลิกจ้างในกรณีต่างๆ       

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การบริหารงานกรณีสอบสวนความผิด-ลงโทษทางวินัยหรือเลิกจ้าง

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร Update กฎหมายแรงงานและกฎหมายประกันสังคมที่ใช้ล่าสุดปี2567

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร การเตรียมความพร้อมรับมือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 25667

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ มีนโยบายเลิกจ้างอย่างไร..ไม่ให้ถูกฟ้อง

•         วิทยากรบรรยายหลักสูตร เจาะลึก..การจ้างแรงงานผ่านบริษัทรับเหมา(outsource)ต้องบริหารอย่างไร.


ระยะเวลาในการฝึกอบรม 

อบรม 1 วัน  จำนวน  6  ชม.

 

 


    

ายละเอียดเพิ่มเติม  กรุณาติดต่อ

โทร  096-669-5554/090 645 0992

Line :  jiwtraining   

dtntraining456@gmail.com

 
 
รายละเอียดการชำระเงิน
      *โอนเข้าบัญชี ในนาม บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด 
       * บัญชีออมทรัพย์  เลขที่บัญชี 206-237-174-0

      กรณีชำระเงินแล้ว กรุณา Scan  หรือถ่ายรูป  สลิป Pay in มาที่  Line  : jiwtraining

      หรือ mail  : dtntraining456@gmail.com
การหัก ณ ที่จ่าย   (1% หรือ 3%)

ในนาม บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด   (สำนักงานใหญ่) 

เลขที่ผู้เสียภาษี 0105555113021

เลขที่ 171/162  ซอยพุทธบูชา 39  แยก 1-1  แขวงบางมด  เขตทุ่งครุ

กรุงเทพมหานคร  10140 
 

รายละเอียดการชำระเงิน

*โอนเข้าบัญชี ในนาม บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด 
* บัญชีออมทรัพย์  เลขที่บัญชี 206-237-174-0
* กรณีชำระเงินแล้ว กรุณา Scan  หรือถ่ายรูป  สลิป Pay in

   มาที่  Line  : jiwtraining    หรือ mail  : dtntraining456@gmail.com

* กรุณาหัก ณ ที่จ่าย  3 % 

ในนาม บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด   (สำนักงานใหญ่) 

เลขที่ผู้เสียภาษี 0105555113021


เลขที่ 171/162  ซอยพุทธบูชา 39  แยก 1-1  แขวงบางมด  เขตทุ่งครุ 

กรุงเทพฯ  10140 

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้