ยืนยันอบรม วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 หลักสูตรรวม 35 ฎีกาคดีแรงงานที่ยอดฮิต นายจ้างและผู้บริหารงานบุคคลห้ามพลาด !!

คุณสมบัติสินค้า:

หมวดหมู่ : All product

Share

ยืนยันจัดอบรม  หลักสูตร รวม 35 ฎีกาคดีแรงงานที่ยอดฮิต นายจ้างและผู้บริหารงานบุคคลห้ามพลาด !!

การบรรยาย 35 ข้อนี้ มีคำพิพากษาฎีกาแจกให้ “ ฟรี ” ทุกข้อ

                            วันพุธที่  26  กรกฎาคม  2566 
เวลา  09.00-16.00 น.  

สถานที่ Novotel Bangkok Hotel  ซอยสุขุมวิท 20  ใกล้ BTS อโศก  กรุงเทพ **สถานีอาจมีการเปลี่ยนแปลง

วิทยากร  : อาจารย์สมบัติ  น้อยหว้า

สมัคร  3 ท่าน เข้าฟรี + 1 ท่านทันที !!!


หลักการและเหตุผล

   หัวข้อการสัมมนา

ข้อ. 1 ทำสัญญาจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานเมื่อถึงวันทำงานแล้วกรณีนายจ้างบอกไม่รับเข้าทำงานจะมีความผิดชดใช้ค่าเสียหายอะไรบ้าง..?                  

ข้อ. 2 ลูกจ้างอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานของตนชักชวนหญิงที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาไปเที่ยวในเวลาค่ำคืนนอกเวลาทำงานหากลูกจ้างไม่ไปด้วย จะไม่เสนอให้ผ่านการทดลองงาน การมีพฤติกรรมดังนี้ เป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ เพราะอะไร..?                                                

 ข้อ. 3 วันลาพักผ่อนเมื่ออายุงานครบหนึ่งปี กรณีลาออก เลิกจ้าง ผิดวินัยร้ายแรงหรือวันลาที่สะสมไว้ เมื่อออกจากงานจะได้รับสิทธิอย่างไร..?

ข้อ. 4 กรณีมีฟ้องกันในศาลแรงงาน ผู้ฟ้องเรียกเงินตามกฎหมายแรงงาน การไกล่เกลี่ยให้ได้รับเงินน้อยกว่ากฎหมายทำได้ไหมเพราะอะไร..?

ข้อ. 5 เมื่อลูกจ้างลาออกแล้วยังมีสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่เพราะอะไร..?

ข้อ. 6  การทำผิดของลูกจ้างจะเป็นกรณีร้ายแรงหรือเป็นกรณีไม่ร้ายแรง การพิจารณาความผิด มีองค์ประกอบอะไรบ้าง..?                             

ข้อ. 7  กรณีลูกจ้างไม่ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในส่วนที่สมทบทำไมถึงฟ้องเรียกค่าเสียหายจากนายจ้างไม่ได้ เพราะอะไร..?                

ข้อ. 8  การจ้างแรงงานตำแหน่งงานที่มิใช่ลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ตามคำพิพากษาศาลฎีกา มีตำแหน่งงานอะไรบ้าง..?                                                             

 ข้อ. 9  กรณีนายจ้างทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างที่ไม่มีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมายแรงงาน ตกเป็นโมฆะ เป็นการกำหนดข้อความอย่างไร..?                                                              

ข้อ. 10  ลูกจ้างสัญญาว่าภายใน 24 เดือนนับจากสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือกระทำการใดๆเพื่อเป็นการแข่งขัน             ธุรกิจทางการค้ากับนายจ้างสัญญาดังนี้ บังคับใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่..กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนฟ้องเรียกค่าเสียหารได้หรือไม่ เพราะเหตุใด..?                                                                                                 

ข้อ. 11  ให้ลูกจ้างไปอบรมเพื่อศึกษาดูงาน 14 วัน มีกำหนดต้องกลับมาทำงานให้กับนายจ้างเป็นเวลา 3 ปี มีผลบังคับใช้หรือไม่เพราะอะไร..?

ข้อ. 12 ในกรณีนายจ้างไม่มอบหมายงานให้ลูกจ้าง  ทำได้ไหม...หรือลูกจ้างฟ้องบังคับให้นายจ้างมอบหมายงาน ทำได้ไหม..เพราะอะไร..?             

ข้อ. 13  เมื่อลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างออกใบสำคัญแสดงการทำงานอย่างไร...ไม่ให้ลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลัง                                              

ข้อ. 14 ให้ลูกจ้างออกจากงานโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้านายจ้างต้องรับผิดจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อใดถึงเมื่อใด..?

ข้อ. 15 นายจ้างพูดกับลูกจ้างว่า ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ลาออกไปเลยหรือใช้คำว่าถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ออกไปเลย คำพูดเหล่านี้มีผลอย่างไร..?                        

ข้อ .16  นายจ้างเลิกจ้างโดยจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชยไปแล้ว ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายอีกทำได้ไหมเพราะอะไร..?                             

ข้อ .17 กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปหลบนอนในเวลาทำงานและนายจ้างไม่เคยตักเตือนมาก่อน เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง..?              

ข้อ. 18 กรณีลูกจ้างปฏิบัติงานทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จึงทำหนังสือยินยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น 25% ขอราคาสินค้าที่สูญหายและได้ผ่อนชำระเป็นงวดๆไป ในเวลาต่อมา นายจ้างจะให้ลูกจ้างรับผิดชอบในราคาขาย 100% ทำได้ไหม เพราะอะไร..?                                             

ข้อ. 19 ในกรณีลูกจ้างนำรถยนต์ของนายจ้างไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาเป็นความผิดทางวินัยลงโทษอะไรได้บ้าง..?

ข้อ. 20 ลูกจ้างลาออกโดยส่งใบลาออกให้นายจ้างทราบทางกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือทางระบบไลน์มีผลบังคับใช้หรือไม่เพราะอะไร..?              

ข้อ. 21 ลูกจ้างทำงานไม่เป็นที่พอใจต่อนายจ้าง จึงเลิกจ้างโดยจ่ายค่าบอกกล่าว ค่าชดเชย ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาให้และมีข้อความว่า เมื่อได้รับเงินแล้วจะไม่เรียกร้อง ค่าเสียหายหรือเงินอื่นใดอีก กรณีลูกจ้างฟ้องศาลแรงงานภายหลังเพื่อเรียกร้องเงินอื่นใดอีกทำได้ไหมเพราะอะไร..?                 

ข้อ. 22 ในกรณีนายจ้างเลิกจ้าง การบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานต้องแจ้งเป็นหนังสือและต้องบอกกล่าวเมื่อใด..?                  

ข้อ. 23 ลูกจ้างขายสินค้าเมื่อสิ้นสุดการขายแล้วต้องนำเงินเข้าสู่ระบบแคชเชียร์ในวันนั้น กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนจะมีความผิดอะไรบ้าง..?                      

ข้อ. 24 กรณีนายจ้างบอกเลิกจ้างด้วยวาจา หรือลูกจ้างลาออกด้วยวาจา จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด..?                                  

ข้อ. 25 เมื่อลูกจ้างออกจากงาน โดยไม่มีความผิด จึงมีสิทธิได้รับเงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจาก การถูกเลือกจ้างที่ไม่เป็นธรรม องค์ประกอบหลักที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าเสียหาย พิจารณาจากอะไร..?                                                                                

ข้อ. 26 กรณีลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวและได้เข้ารับการรักษาซึ่งมิใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิเมื่อมีค่าใช้จ่ายหลายหมื่น สำนักงานประกันสังคม ต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้หรือไม่ มีหลักเกณฑ์ในทางปฏิบัติอย่างไร..?                            

ข้อ. 27 สัญญาจ้างทำของต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาจ้างอย่างไร..ถึงจะมีผลบังคับใช้ เพราะจะมีผลต่อการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

ข้อ. 28 นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตรงตามเวลา เมื่อลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนดจะต้องชดใช้ค่าเสียหายต่อนายจ้างหรือไม่เพราะเหตุใด..?

ข้อ. 29 ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าน้ำมันรถ ค่าโทรศัพท์ ที่นายจ้างจ่ายให้ทุกเดือนทำไมเป็นค่าจ้าง เมื่อนายจ้างไม่อยากให้เป็นค่าจ้างต้องทำอย่างไร..?            

ข้อ. 30 กรณีลูกจ้างทำความเสียหายและไม่ชดใช้ค่าเสียหาย ผู้ค้ำประกันการทำงานต้องรับผิดร่วมและต้องชดใช้ค่าความเสียหายอะไรบ้าง..?

ข้อ. 31 ทำผิดวินัยร้ายแรงจึงทำข้อตกลงให้ลูกจ้างลาออกและนายจ้างจะไม่ดำเนินคดีทางอาญาต่อมาลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชยทำได้ไหม..? 

ข้อ. 32 กรณีลูกจ้างเรียกรับเงินจากลูกค้าของนายจ้าง เพื่อความสะดวกในการซื้อขายสินค้าพฤติกรรมดังกล่าวนี้ลงโทษอะไรได้บ้าง..?              

ข้อ. 33 กรณีลูกจ้างทำความเสียหาย เมื่อนายจ้างไม่เลิกจ้างจะให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายต้องทำบันทึกข้อตกลงเพื่อให้ผ่อนชำระอย่างไร..?  

ข้อ. 34 เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกฎหมายให้จ่ายค่าจ้างภายใน 3 วัน กรณีไม่จ่ายโดยหักชดใช้ค่าเสียหายที่ลูกจ้างทำขึ้นทำได้ไหม เพราะอะไร..?  

ข้อ. 35 ลูกจ้างเขียนข้อความด่านายจ้างลงทางสื่อ หรือทางไลน์กลุ่มว่าได้รับเงินโบนัสน้อยเกินเหตุเป็นความผิดทางวินัยลงโทษอะไรได้บ้าง..?

·      ถาม - ตอบ - แนะนำ - ให้คำปรึกษาหลังการสัมมนา “ ฟรี ” ตลอดการไม่มีค่าใช้จ่าย

·      การบรรยาย 35 ข้อนี้ มีคำพิพากษาฎีกาแจกให้ “ ฟรี ” ทุกข้อ  ผู้เข้าร่วมสัมมนา : นายจ้าง / ผู้บริหารงานบุคคล / บุคคล

·      ให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมสัมมนา หลังการสัมมนา “ฟรี” ตลอดกาล ไม่มีค่าใช้จ่าย


วิทยากร  :   อาจารย์สมบัติ  น้อยหว้า

 




รายละเอียดหลักสูตรอื่น ๆ  เพิ่มเติมได้ที่นี่  คลิ๊ก  http://www.hrdzenter.com/

 

สำรองที่นั่ง  ติดต่อเพิ่มเติมได้ที่    

คุณธนนันท์     096-669-5554   Line :  hrdzenter  IG : hrd_zenter

www.dtntraining.com ,E-mail : dtntraining456@gmail.com  

วิธีการชำระเงิน   เช็คสั่งจ่ายในนาม   บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด

โอนเงินเข้าบัญชีนาม  บริษัท ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด

>> ธนาคารไทยพาณิชย์  สาขาเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์  เลขที่  206-237-1740

(กรุณาส่งสำเนาใบฝากเงิน พร้อมใบสมัครมายังบริษัทเพื่อยืนยันการชำระเงิน และใช้เป็นหลักฐานการสมัครทางอีเมล์  : dtntraining456@gmail.com   Line : jiwtraining (ผู้เข้าอบรมรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามจังหวัด)

  
 
ที่อยู่ในการออกเอกสารหัก ณ ที่จ่าย

ในนามบริษัท  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำกัด  (สำนักงานใหญ่)

เลขที่  171/162  ซอยพุทธบูชา  39 แยก 1-1

แขวงบางมด  เขตทุ่งครุ  กรุงเทพฯ  10140

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  010 5555 113 021
 
 
การแจ้งยกเลิก: 1. ผู้สมัครสามารถที่จะยกเลิกการเข้าอบรมได้ ในกรณีที่ท่านยกเลิกก่อนวันงาน 10 วัน  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2. กรณีที่ท่านแจ้งยกเลิกก่อนวันสัมมนาก่อนวันงาน 1-7 วัน บริษัทฯ จะหักค่าธุรการ ร้อยละ 30 ของค่าสมัคร 

3.และในกรณีที่ท่านยกเลิกในวันสัมมนาหรือไม่มาตามที่ส่งใบสมัครมาแล้ว   บริษัทฯจะไม่คืนเงินใด ๆ  ทั้งสิ้น   หรือหากท่านยังไม่ชำระค่าสัมมนา  ทางบริษัท ต้องขอเก็บค่าธุรการจำนวน  30 %  ทันที

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้